|
|
เมนบอร์ด (MainBoard)
เมนบอร์ดคืออะไร
นับตั้งแต่ได้มีการคิดค้นเครื่องพีซีขึ้นมา
ก็จะปรากฎเจ้าแผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่
ที่รวบรวมเอาชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ
ๆ เข้ามาไว้ด้วยกัน
เจ้าแผ่นวงจรไฟฟ้านี้มีชื่อเรียกว่า
เมนบอร์ด (Mainboard) หรือมา-เธอร์บอร์ด
(Motherboard)
หรือถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็จะเรียกว่าแผงวงจรหลัก
ซึ่งเมนบอร์ดนี้เองที่เป็นส่วนที่ควบคุมการทำงานแผ่นที่ใหญ่ที่สุดภายในพีซี
ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอซี (IC-Integrated
circuit)รวมทั้งการ์ดต่อพ่วงอื่น ๆ
เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงแผ่นเดียว
เครื่องพีซีทุกเครื่องไม่สามารถทำงานได้ถ้าขาดเมนบอร์ดไป
เมนบอร์ดมีกี่รุ่น
? เมนบอร์ดที่มีขายกันในทุกวันนี้
จะมีเมนบอร์ดที่ผลิตโดยผู้ผลิตเมนบอร์ดจากอเมริกาและไต้หวัน
แต่ เมนบอร์ดที่นิยมใช้กัน
จะเป็นเมนบอร์ดที่ผลิตโดยผู้ผลิตเมนบอร์ดจากไต้หวัน
เพราะจะมีราคาถูกกว่าเมนบอร์ดจากอเมริกา
ถ้าจะถามถึงเรื่องคุณภาพก็สามารถบอกได้เลยว่า
"ของดีไม่มีราคาถูก" คือ
เมนบอร์ดที่ผลิตจากผู้ผลิตในอเมริกา
แต่ก็มีคุณภาพและความคงทนในการใช้ดีกว่าเมนบอร์ดจากไต้หวัน
แต่ก็ไม่ใช่ว่าเมนบอร์ดจากไต้หวันจะไม่ดีเพียงแต่มาตรฐานของคุณภาพในการผลิตแตกต่างกัน
และผลิตมาโดยที่เราไม่สามารถทราบได้ว่ามีการทดสอบผลิตภัณฑ์ก่อนวางจำหน่วยหรือไม่
แต่สำหรับผู้ใช้ทั่ว ๆ ไปแล้ว
เมนบอร์ดของไต้หวันก็สามารถที่จะตอบสนองความต้องการในการใช้งานทั่ว
ๆ ไปได้อย่างสบาย
และก็มีเมนบอร์ดจากไต้หวันบางรุ่นบางยี่ห้อ
ที่มีคุณภาพดีกว่าเมนบอร์ดจากอเมริกาเสียด้วยซ้ำไป
เมนบอร์ดที่ใช้กันในปัจจุบนจะมีอยู่หลายขนาด
คือ
- เมนบอร์ดขนาด
Full-size AT จะมีขนาดใหญ่มาก คือ
จะมีขนาดประมาณ 12x13.8 นิ้ว
และจะใส่ได้ กับเคสแบบ Full Tower
เท่านั้น
ซึ่งจะมีขนาดใหญ่โตจนเกินกว่าการใช้งานปกติไป
จึงได้มีการพัฒนาเมนบอร์ดในขนาดที่เล็กลง
ย่อส่วนลงมาจากขนาด Full-size
เป็นเมนบอร์ดขนาด Baby-AT
อย่างที่ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้
ซึ่งจะมีขนาดเล็กกว่าสามารถใส่ในเคสขนาดเล็กลงอย่าง
Mdeium Tower,Mini Tower,Desktop และSlimline ได้
ทำให้ไม่มีผู้ผลิตเมนบอร์ดขนาด
Full-size ไปในที่สุด
เพราะไม่มีผู้นิยมใช้เมนบอร์ดขนาดใหญ่กันอีกต่อไปแล้ว
โดยขนาดของเมนบอร์ด Baby-AT จะมีขนาด
8.5x13 นิ้ว
- เมนบอร์ดที่ได้รับพัฒนาขึ้นมาล่าสุดนี้
ก็คือ เมนบอร์ด ATX
ซึ่งเปิดตัวโดยอินเทลในปี 1995
เมนบอร์ดรุ่นนี้ได้จะรับการออกแบบมาสำหรับพีซีที่ใช้ซีพียูเพนเทียมและเพนเทียมโปรขึ้นไป
มีการจัดวางตำแหน่งของซีพียูหน่วยความจำ
สล็อต และพอร์ตต่าง ๆ ใหม่
โดยจะวางตำแหน่งของซีพียูและหน่วยความจำใกล้กับพาวเวอร์-ซัพพลาย
เพื่อใช้ประโยชน์จากพัดลมระบายความร้อนของพาวเวอร์ซัพพลาย
ให้ช่วยระบายความร้อนที่เกิดจากการทำงานของซีพียู
สามารถใส่การ์ดเพิ่มเติมอื่น ๆ
ที่มีขนาดความยาวมาก ๆ ได้
- หน่วยความจำแคชระดับสอง
- หน่วยความจำแคชระดับสองที่ใช้กันอยู่ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ
ที่มีในปัจจุบันนี้
ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะ
เป็นหน่วยความจำแคชแบบ Pipeline Burst Cache SRAM
ซึ่งเป็นหน่วยความจำแคชที่มีความเร็วสูงที่สุดในปัจจุบันอยู่แล้ว
จึงไม่ต้องคำนึงถึงมากนักเช่นเดียวกับขนาดของหน่วยความจำแคชที่ส่วนใหญ่ก็จะมีขนาด
512KB เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว
- สำหรับผู้ใช้ซีพียูในระดับเพนเทียมทูนั้น
หน่วยความจำแคชระดับสองจะมีอยู่ในการ์ด
SEC อยู่แล้วจึงไม่ต้องเลือก
ซึ่งจะมีขนาด 512KB แบบ Pipeline Burst Cache SRAM
- ความสามารถในการจ่ายระดับแรงดันไฟฟ้าให้กับซีพียู
- เมนบอร์ดที่เลือกซื้อ
นั้นควรจะสามารถรองรับการจ่ายระดับแรงดันไฟฟ้าให้กับซีพียูได้ตั้งแต่
3.3 โวลต์ (สำหรับซีพียู AMD K5 และ Cytix/IBM
6x86), 3.2 โวลต์ (สำหรับซีพียู AMD K6 233MHz), 2.9
โวลต์ (สำ-หรับซีพียู AMD K6 166MHz และ K6 200MHz)
จนถึง 2.8 โวลต์ (สำหรับซีพียูเพนเทียม
MMX, Cyrix/IBM 6x86MX)
และสำหรับการเตรียมการอัพเกรดในอนาคตเมนบอร์ดที่คุณเลือกซื้อก็ควรจะรองรับแรงดันไฟขนาด
2.5 โวลต์ด้วย
- สำหรับเมนบอร์ดของซีพียูเพนเทียมทูนั้นคงจะไม่มีปัญหาเพราะเป็นเมนบอร์ดที่ออกแบบขึ้นสำหรับซีพียูเพนเทียมทูอยู่แล้ว
- ความสามารถในการรองรับอัตราการคูณความเร็วสัญญาณนาฬิกา
- เมนบอร์ดที่คุณเลือกซื้อควรที่จะสามารถรองรับอัตราการคูณความเร็วสัญญาณนาฬิกาของซีพียูได้อย่าง
น้อยที่สุด 3.5 เท่า
สำหรับซีพียูรุ่นสูงสุด คือ
รุ่นเพนเทียม 233MMX และ AMD K6 233MHz
แต่ถ้าต้องการที่จะเตรียมการไว้
สำหรับการอัพเกรดในอนาคตแล้ว
เมนบอร์ดที่คุณเลือกซื้อควรจะต้องรองรับอัตราการคูณความเร็วสัญญาณนาฬิกาได้ถึง
4 เท่าสำหรับซีพียู AMD K6 266MHz
- สำหรับเมนบอร์ดของซีพียูเพนเทียมทูนั้น
อย่างน้อยที่สุดควรจะสามารถรองรับอัตราการคูณความเร็วสัญญาณนาฬิกาของซีพียู
4.5 เท่าสำหรับซีพียูรุ่นสูงสุด
คือ รุ่นเพนเทียมทู 300 MHz
และสำหรับซีพียูรุ่นสูงสุดคือรุ่นเพนเทียมทู
300MHz
และสำหรับการเตรียมการอัพเกรดในอนาคต
เมนบอร์ดที่ควรจะเลือกซื้อคือจะต้องรองรับอัตราการคูณความเร็วสัญญาณนาฬิกาได้ถึง
5 เท่าสำหรับซีพียูเพนเทียมทู 333MHz
- ความสามารถในการรองรับอัตราความเร็วสัญญาณนาฬิกาของซีพียู
- เมนบอร์ดที่เลือกซื้อควรจะสามารถรองรับอัตราความเร็วสัญญาณนาฬิกาของซีพียูได้อย่างน้อยที่สุด
66 MHz ถ้าต้องการใช้ซีพียูของ Cyrix
รุ่น 6x86 P200+ และ 6x86MX PR233
เมนบอร์ดที่เลือกซื้อนั้นก็ควรจะรองรับอัตราความเร็วสัญญาณนาฬิกาของซีพียูได้ถึง
75MHz
แต่ถ้าต้องการจะเตรียมไว้สำหรับการอัพเกรดในอนาคตแล้วก็ควรจะสามารถรองรับอัตราความเร็วสัญญาณนาฬิกาของซีพียูได้ถึง
100MHz สำหรับซีพียู AMD K6 300MHz
หรือสูงกว่า
- สำหรับเมนบอร์ดของซีพียูเพนเทียมทูนั้น
อย่างน้อยที่สุดควรจะสามารถรองรับอัตราความเร็วสัญญาณนาฬิกาของซีพียูสูงสุดที่
66MHz
และสำหรับการเตรียมการอัพเกรดในอนาคต
เมนบอร์ดที่เลือกซื้อควรจะต้องรองรับอัตราความเร็วสัญญาณนาฬิกาได้ถึง
100MHz
- สล็อตแบบ ISA,
PCI และ AGP
- ควรดูว่าเมนบอร์ดที่เลือกซื้อนั้นมีสล็อตแบบ
ISA และแบบ PCI อย่างละกี่สล็อต
เพียงพอกับความ ต้องการหรือไม่
เช่น
ถ้ามีแผนที่จะใช้การ์ดเสียง ,
โมเด็มแบบติดตั้งภายในและการ์ดคอนโทรลเลอร์แบบ
SCSI สำหรับเครื่องสแกนเนอร์ (ใช้อินเตอร์เฟสแบบ
SCSI)
หรือสำหรับไดร์ฟความจุสูงพร้อมกันในเครื่องคอมพิวเตอร์แสดงว่าอย่างน้อยเมนบอร์ดที่เลือกซื้อควรจะต้องมีสล็อตแบบ
ISA อย่างน้อย 3 สล็อต ส่วนสล็อตแบบ PCI
นั้นต้องใช้สำหรับการ์ดแสดงผล 1
สล็อต
และถ้ามีแผนที่จะใช้การ์ดเน็ตเวิร์ค,
การ์ดเร่งความเร็ว 3 มิติ
และการ์ด-คอนโทรลเลอร์แบบ SCSI
สำหรับฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI
พร้อมกันในเครื่องคอมพิวเตอร์สล็อตแบบ
PCI ก็ควรมีอย่างน้อย 3 สล็อต
- สำหรับสล็อตแบบ
AGP นั้นในปัจจุบัน
จะมีเฉพาะบนเมนบอร์ดสำหรับซีพียูเพนเทียมทูที่ใช้ชิพเซ็ตรุ่น
440LX เท่านั้น
และจะมีอยู่เพียงสล็อตเดียวเป็นมาตรฐาน
ส่วนบนเมนบอร์ดสำหรับซีพียูตระกูลเพนเทียมที่ใช้ช็อกเก็ต
7 นั้นในเมืองไทยยังไม่มี
ระบบบัสแบบ AGP
นี้จะช่วยให้การ์ดเร่งความเร็วกราฟิกทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
เพราะใช้บัสความเร็ว 66MHz
และช่วยให้การ์ดเร่งความเร็วกราฟิกทำงานที่ความละเอียดสูง
ๆ
ได้โดยที่ไม่ต้องใช้หน่วยความจำวีดีโอขนาดใหญ่
เพราะสามารถนำหน่วยความจำหลักมาใช้เป็นหน่วยความจำวีดีโอได้
- เมนบอร์ดแบบ
AT และ ATX
- สำหรับการเลือกซื้อเมนบอร์ดไม่ว่าจะเป็นแบบ
ATX หรือแบบ AT ก็ตาม
ประสิทธิภาพที่ได้นั้นแตก
ต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ดังนั้น
การเลือกซื้อก็แล้วแต่จะเลือก
อีกทั้งราคาของเมนบอร์ดแบบ ATX
จะสูงกว่าเมนบอร์ดแบบ AT
อยู่ไม่กี่ร้อยบาทเท่านั้น
การใช้เมนบอร์ดแบบ ATX
อาจจะได้เปรียบอยู่บ้างตรงที่
ความสวยงาม,
มีพื้นที่ในการอัพเกรดเพิ่มเติมการ์ด
หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ
มากกว่าทำให้อัพเกรดได้ง่ายกว่าสะดวกกว่า,
ช่วยให้ใช้การ์ดต่อเพิ่มเติมต่าง
ๆ
ที่มีความยาวเป็นพิเศษเสียบลงบนสล็อตได้อย่างไม่มีปัญหา,
ช่วยให้ความร้อนที่เกิดจากซีพียูถูกระบายออกได้ดีขึ้นอีกเล็กน้อย
โดยผ่านพัดลมของ Power Supply
และช่วยให้ความเร็วของระบบโดยรวมเร็วขึ้นเล็กน้อย
(น้อยมาก) ส่วนเมนบอร์ดแบบ AT
จะดีตรงที่อัพเกรดเมนบอร์ดกับตำแหน่งของพอร์ตให้พอดีกับตัวเคสมากนัก
(แต่จะยุ่งยากเล็กน้อยตอนต่อสายพอร์ตต่าง
ๆ ), ราคาถูกกว่า
และหาซื้อเมนบอร์ดกับตัวเคสได้ง่ายกว่า
แต่สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ทั้งเครื่อง
และไม่ค่อยมีความรู้เรื่องเครื่องมากนัก
ก็ขอแนะนำให้เลือกซื้อเมนบอร์ดแบบ
ATX ไปเลยจะดีกว่า
- อินเตอร์เฟสแบบ
USB
- ในปีหน้านี้คาดว่าจะมีอุปกรณ์ที่สนับสนุนอินเตอร์เฟสแบบ
USB
จะมีออกมาให้เห็นกันมากยิ่งขึ้นกว่านี้
การมีพอร์ตแบบ USB
เตรียมไว้จะดีกว่า
เพราะอุปกรณ์รุ่นใหม่ ๆ
ประสิทธิภาพสูงหลายชนิดอาจจะหันมาใช้อินเตอร์เฟสแบบ
USB กันมากขึ้น
แต่เนื่องจากการใช้อินเตอร์เฟสแบบ
USB
จะช่วยให้อุปกรณ์เหล่านั้นมีราคาถูก
ออกแบบและพัฒนาได้ง่าย
- ชิพเซ็ต
- ซิพเซ็ตบนเมนบอร์ดในปัจจุบันที่นิยมใช้เป็นซิพเซ็ตของอินเทลนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน
3 รุ่น คือ รุ่น 430VX, 430HX และ 430TX (รุ่น 430FX
ปัจจุบันไม่มีแล้ว) ชิพเซ็ต 430TX
เป็นชิพเซ็ตรุ่นใหม่ที่สุดของอินเทลสำหรับซีพียูที่ใช้ช็อกเก็ต
7 มีประสิทธิภาพสูงสุดในขณะนี้
ชิพเซ็ตตัวนี้จะสนับสนุนความสามารถและเทคโนโลยีรุ่นใหม่ๆ
เช่น การเพิ่มแรมได้สูงสุด 256MB (เดิม
128MB)
สนับสนุนการใช้สล็อตหน่วยความจำหลักแบบธรรมดา,
FPMและแบบ EDO สูงสุด 6 แผง (เดิมสนับสนุน
4 แผง) หรือแบบ SDRAM 3 แผง (เดิม 2
แผงที่ใช้กับชิพเซ็ต 430VX)
สนับสนุนอินเตอร์เฟสฮาร์ดดิสก์แบบ
Ultra DMA/33
ที่มีอัตราการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างหน่วยความจำบัฟเฟอร์ของฮาร์ดดิสก์
กับหน่วยความจำหลักสูงสุด 33MB
ต่อวินาที (เดิม 16.6MBต่อวินาทีที่ PIO
Mode 4 หรือ DMA Mode 2)
และทำให้หน่วยความจำหลักแบบ SDRAM
ทำงานได้เร็วขึ้นกว่าเดิมที่ใช้กับฃิพเซ็ต
430VX
ด้วยความสามารถที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดนี้ทำให้เมนบอร์ดที่ใช้ชิพเซ็ตตัวนี้
มีประสิทธิภาพโดยรวมสูงขึ้นกว่าเดิมที่ใช้ชิพเซ็ตรุ่น
430VX และ 430HX
- ส่วนผู้ใช้ซีพียูในระดับเพนเทียมทูนั้น
เมนบอร์ดที่ควรเลือกใช้ก็ควรเป็นเมนบอร์ดที่ใช้ชิพเซ็ตรุ่นใหม่ล่าสุดอย่างรุ่น
440LX
ของอินเทลมากกว่าที่จะเลือกใช้เมนบอร์ดที่ใฃ้ชิพเซ็ต
440FX เพราะเมนบอร์ดที่ใช้ชิพเซ็ต 440LX
จะสนับสนุนการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ความเร็วสูงต่างๆ
เฃ่น
สนับสนุนหน่วยความจำหลักแบบ SDRAMสนับสนุนอินเตอร์เฟสฮาร์ดดิสก์แบบ
Ultra DMA/33และสนับสนุนระบบกราฟิกบัสแบบ
AGP
ขณะที่เมนบอร์ดรุ่นเดิมที่ใช้ชิพเซ็ต
440FX
นั้นไม่สนับสนุนอีกทั้งราคาของเมนบอร์ดรุ่นใหม่นี้ก็สูงกว่าเมนบอร์ดที่ใช้ชิพเซ็ตรุ่นเดิม
(440FX) ไม่มากนัก
- จะเลือกซื้อเมนบอร์ดอย่างไร
?
- เมนบอร์ดที่นำเข้ามาขายนั้น
จะมีเมนบอร์ดที่มาจากอเมริกาและไต้หวัน
ซึ่งมีความแตกต่างกันที่ราคา
ประสิทธิภาพเมนบอร์ดของอเมริกาจะดีกว่า
ดังนั้นการจะเลือกซื้อไม่ใช่ว่าจะพิจารณาจากราคาอย่างเดียว
เพราะยังมีจุดที่จะต้องดูอีกอย่างด้วย
นั่นคือ
จะต้องพิจารณาว่าเมนบอร์ดที่จะซื้อมานั้นใช้ชิพเซ็ตอะไร
ซึ่งชิพเซ็ตที่จะใช้ก็จะสัมพันธ์กับซีพียูด้วย
- ถ้าพูดถึงเมนบอร์ดคงจะต้องนึกว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากในคอมพิวเตอร์
ถ้าไปยุ่งกับมันมากอาจเกิดความเสียหายได้แต่ความเป็นจริงแล้ว
ถ้าเคยจับ ๆ ถอด ๆ
อุปกรณ์บางอย่าง เช่น
แรมหรือฮาร์ดดิสก์ออกจากเครื่องก็สามารถทำได้
เพราะการอัพเกรดหรือติดตั้งเมนบอร์ดนั้นไม่ได้ยากอย่างที่หลายคนคิด
ในกรณที่ซื้อเมน-
บอร์ดมาเพื่ออัพเกรดเมนบอร์ดเก่าให้เป็นรุ่นที่ใหม่ขึ้น
ก่อนที่จะซื้อเมนบอร์ดมาเพื่อเปลี่ยนขอให้ถามตัวเองว่าจะต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดนั้นคืออะไร
ถ้าเหตุผลที่คิดว่าตรงกับข้างล่างก็ลงมืออัพเกรดได้เลย
- ต้องการความเร็วที่สูงขึ้น
- ต้องการใช้ Plug
and Play
- ต้องการใช้ไบออสที่สามารถอัพเกรดได้
- ต้องการใช้บัสแบบ
PCI
- ต้องการใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ
EIDE
สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุมากขึ้น
- ขั้นตอนการอัพเกรด
- ปิดเครื่อง
- ถอดปลั๊กไฟออกให้เรียบร้อยและทำการกราวน์ตัวเองก่อน
โดยการเอามือไปจับที่ตัวเครื่อง
หรือพาวเวอร์ซัพพลาย
การกราวน์ที่ว่านี้คือ
การกำจัดไฟฟ้าสถิตย์ที่เกิดขึ้นเมื่อปิดเครื่องไป
- ใช้ไขควงไปขันน็อตที่ด้านหลังของเครื่องเพื่อเปิดฝาเคสออกมา
ถ้าเคสเป็นแบบทาวเวอร์ คือ
จะเป็นเคสที่เป็นทรงสูง ๆ
ขึ้นไปในแนวตั้งก็ให้วางเคสในแนวนอน
- ถอดการ์ดต่างๆ
ออกให้หมด
โดยการไขสกรูที่ติดเอาไว้
แล้วก็ดึงออกไปในแนวตรง
ซึ่งบางการ์ดอาจจะต้องมีการดึงสายไฟออกด้วย
จากนั้นก็ถอดสายเคเบิลต่าง ๆ
สายต่อพอร์ตอนุกรมหรือ COM PORT
ทั้งสองพอร์ตออกให้หมด
โดจจำตำแหน่งที่ถอดออกมาด้วย
- ดึงสายไฟที่ต่อจากพาวเวอร์ซัพพลายเข้าไปที่เมนบอร์ดออก
ซึ่งสายไฟนี้มีอยู่ 2 ชุด
ปกติแล้วจะอยู่ใกล้กับช่องต่อคีย์บอร์ด
โดยการดึงขึ้นมาตรง ๆ
แล้วก็เอียงเล็กน้อย
- ถอดสายไฟต่างๆ
ออกให้หมด
ไม่ว่าจะเป็นสายต่อสวิตซ์รีเซ็ตหรือไฟเทอร์โบ
สายไฟพวกนี้จะมักอยู่ด้านหน้าของเมนบอร์ด
ซึ่งจะมีหลาย ๆ สี
จะมีการเขียนติดไว้ที่ปลายของสายไฟว่าเป็นสายอะไร
- ต่อไปเอาน็อตหรือสกรูที่ล็อกเมนบอร์ดออกให้หมด
จากนั้นก็ถอดเมนบอร์ดออกได้โดยการเลื่อนเมนบอร์ดไปทางด้านข้างเพียงเล็กน้อย
เพื่อให้พลาสติกสีขาวที่ใช้รองเมนบอร์ดที่เกี่ยวติดอยู่กับเคสเลื่อนออกมา
- เมื่อถอดเมนบอร์ดออกมาให้สำรวจดูว่าหน่วยความจำที่เมนบอร์ดเก่าสามารถนำไปใช้ในเมนบอร์ดใหม่ได้หรือไม่
ถ้าใข้ด้วยกันได้ให้ถอดออกมาด้วย
อย่าลืมถอดพลาสติกรองเมนบอร์ดตัวเก่าออกมาด้วย
เพราะยังต้องใช้กับเมนบอร์ดใหม่อีก
- การติดตั้งเมนบอร์ด
- ถ้าเมนบอร์ดที่ซื้อมายังไม่ได้ติดตั้งซีพียูกับหน่วยความจำ
ก็ขอให้ติดตั้งลงไปก่อน
- นำเอาเมนบอร์ดใส่ลงไปในเคส
โดยที่จัดวางตำแหน่งของพลาสติกรองเมนบอร์ดให้ตรงกันกับตัวล็อคที่เคส
เมื่อจัดให้ตรงกันแล้วก็วางลงไป
และเลื่อนเมนบอร์ดให้เข้าล็อกให้ลองขยับดูว่าลงล็อกทุกจุดแล้วหรือยังถ้าเรียบร้อยแล้วก็ไขน็อตยึดเมนบอร์ดกลับไปตามเดิมให้แน่น
- ขั้นตอนต่อไป
คือ
การนำเอาสายไฟที่ถอดออกมาใส่เข้าไปที่เมนบอร์ด
โดยปกติแล้วมักจะเอาสายไฟข้างที่มีสายดำหันเข้าหากันหรือให้คู่กันตรงกลาง
จากนั้นก็กดลงไปให้แน่น
แล้วก็ประกอบการ์ดต่าง ๆ
กลับเข้าไปที่เดิม
ส่วนสายไฟต่าง ๆ เช่น
สายสวิตซ์รีเซ็ตหรือสายเทอร์โบ
ก็ให้ใส่กลับเข้าไปตามเดิม
โดยดูจากคู่มือเมนบอร์ดที่ร้านค้ามักจะให้มาด้วยว่าสายอะไรจะเสียบเข้าไปที่ไหน
ซึ่งถ้าที่ปลายสายเหล่านี้ไม่ได้เขียนว่าเป็นสายอะไรก็ไม่มีปัญหาอะไร
- จากนั้นก็เสียบสายเคเบิลต่างๆ
กลับไปตามตำแหน่งที่บอกไว้ในคู่มือเมนบอร์ดให้สำรวจดูว่าการ์ดต่าง
ๆ ต่อเรียบร้อยดีแล้วหรือยัง
- เปิดเครื่องเพื่อทดสอบดูว่า
สามารถทำงานได้ถูกต้องหรือไม่
แต่ยังไม่ต้องปิดฝาเคสลงไปเพราะอาจจะมีบางอย่างที่เราใส่เข้าไปไม่แน่นหรือไม่ถูกต้อง
ถ้าทุกอย่างถูกต้องดีแล้วเครื่องก็จะสามารถทำงานได้ตามปกติแต่ถ้าเปิดเครื่องขึ้นมาแล้วมีการแสดงข้อผิดพลาดขึ้นมา
ก็ให้ดูว่าข้อผิดพลาดนั้นคืออะไร
ปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการเสียบการ์ดต่าง
ๆ ลงไปไม่แน่น
หรือเสียบสายไฟเข้าไปไม่แน่น
ให้ลองขยับการ์ดหรือถอดออกมาแล้วใส่เข้าไปใหม่
เมื่อเครื่องทำงานเรียบร้อยตามปกติแล้ว
ก็ให้นำค่า CMOS
ที่ได้บันทึกเอาไว้เข้าไปตามเดิม
|